เริ่มเข้าสู่หน้าหนาวแล้วนะครับ และแดดหน้าหนาวแรงมากครับ มีผลให้ยางรั่วได้ง่ายๆครับ วันนี้ผมมีวิธีการดูแลรักษายางแบบเจ๋งๆมาเสนอครับ
ยาง เป็นอุปกรณ์ส่วนควบที่มาพร้อมกับรถจักรยานยนต์ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ซึ่ง ยาง มีความสำคัญด้านความปลอดภัยไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ระบบเบรก ที่ว่า ยาง มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เนื่องจากยางรถจักรยานยนต์ทุกเส้น ต้องทำหน้าที่อันหนักอึ้ง เพราะยาง เป็นส่วนที่ต้องแบกรับน้ำหนักของรถจักรยานยนต์ และผู้ขับขี่
ยางต้องสัมผัสพื้นผิวถนนในสภาพต่างๆ ตลอดเวลา ดังนั้นจึงน่าจะกล่าวได้ว่า หากผู้ใช้รถจักรวานยนต์ปราศจากการดูแล หรือสร้างความเข้าใจเรื่องของ ยาง โอกาสการเกิดอุบัติเหตุย่อมมีสูงตามไปด้วย ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทุกคนจึงควรใส่ใจ และให้ความสำคัญกับยางที่อยู่คู่กับรถจักรยานยนต์ เพื่อความปลอดภัยขึ้นพื้นฐานที่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทุกคนควรพึงได้รับ
เห็นยางผิดปกติ รีบซ่อมด่วน
หากยางรถจักรยานยนต์ เกิดแฟบแบนลง สังเกตได้จากการมอง ซึ่งจะมาจากสาเหตุใด ควรรีบตรวจสอบและทำการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน หรือหารอยรั่วเพื่อทำการปะปิดรอยรั่วนั้นๆ หรือในบางกรณีต้องเปลี่ยนยางเส้นใหม่ หากมองว่ายาง ไม่อาจสร้างให้เกิดความปลอดภัยระหว่างการใช้งานได้ โดยเฉพาะยางที่มีอายุเกินกว่า 2 ปีขึ้นไปหรือยางที่ได้ได้ใช้งานนานๆ หรือรถที่จอดแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน
ดูลมยาง หลีกหนีความเสี่ยง
ลมยาง เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ยางเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการยึดเกาะถนน และการเติมลมยางให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้ยางเกิดความอ่อน หรือ แข็งมากเกินไปจากการคาดเดาด้วยความรู้สึกส่วนตัว ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทุกคนสามารถตรวจสอบ ลมยาง ควรเติมในอัตราส่วนเท่าไหร่ จากคู่มือประจำรถจักรยานยนต์ที่ใช้อยู่ เพราะรถทุกรุ่น ทุกยี่ห้อนั้นจะมีอัตราการเติมลมยางระดับมาตรฐานจากโรงงานผู้ผลิตรถจักรยานยนต์
กรณีเป็นรถจักรยานยนต์เก่า ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลการเติมลมยางได้ผู้ใช้สามารถยึดหลักมาตรฐานเดิมคือ ยางหน้า ต้องแรงดันลมอยู่ที่ 29 ปอนด์ / ตารางนิ้ว และยางหลัง 33 ปอนด์ / ตารางนิ้ว การเติมลมยางอ่อน มีโอกาสยางจะระเบิดได้ระหว่างการขับขี่ เนื่องจากเกิดการเสียดทานอย่างรุนแรงของยางในกับยางนอก และขอบกระทะล้อ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายต่อผู้ใช้รถจักรยานยนต์อย่างมาก
เพิ่มลมยางอีกนิด หากคิดเดินทางไกล
เมื่อต้องขับรถทางไกลเป็นเวลานาน หรือใช้ความเร็วสูง ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ควรเพิ่มแรงดันลมของยาง จากมาตรฐานขึ้นอีกราว 3-4 ปอนด์ ซึ่งจะทำให้ความร้อนภายในลมยางลดลง ทำให้การขับขี่เกิดปลอดภัยมากขึ้น กรณียางใหม่ควรตรวจเช็คลมยางบ่อย ยางใหม่ช่วงแรกๆ จะมีการขยายตัวของโครงสร้างยาง ทำให้ความดันลมอาจลดต่ำกว่าปกติจึงควรตรวจเช็คลมยางให้บ่อยครั้งกว่าเดิมเล็กน้อย
หมั่นเช็คลมยาง
การตรวจเช็คและปรับแต่งลมยางให้อยู่ในระดับมาตรฐานมีความสำคัญ การตรวจเช็คลมยางไม่ควรทำขณะที่ยางมีอุณหภูมิสูง หรือควรจอดรถทิ้งไว้สักระยะก่อนที่จะทำการตรวจเช็คลมยาง กรณีเดียวกับเติมลมยางต้องรอให้ยางเกิดความเย็นลงก่อนและต้องเติมลมยางให้อยู่ในระดับมาตรฐานจากคู่มือรถเสมอ
อย่าตกใจเมื่อแรงดันลมยางสูง
รถจักรยานยนต์ที่วิ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ยางจะเกิดความร้อนและลมยางจะมีแรงดันลมเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ห้อมปล่อยลมยางอย่างเด็ดขาด เพราะเมื่อยางปรับอุณหภูมิปกติแรงดันภายในยางจะกลับอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งหากผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทำการปล่อยลมยางระหว่างยางเกิดความร้อนเมื่อยางเย็นลง แรงดันลมจะลดตามจนอาจสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในระหว่างการขับขี่ในช่วงต่อไป
ขอบคุณที่มา
http://www.drivingbike.com/blog/view_blog.php?id=1
วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วิธีการดูแลรักษายางรถจักรยานยนต์ให้ใช้งานได้นานๆ
เขียนโดย Arthit ที่ 05:28 วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554ป้ายกำกับ: เทคนิคในการซ่อมบำรุงดูแลรักษารถ